#หยุดเผาเถอะครับพี่น้อง !!! รัฐบาลอังกฤษและนักวิชาการจำนวนมาก ต่างเรียกร้องให้ประชาชนยุคเชื่อทฤษฎีสมคบคิด และ หยุดพฤติกรรม เผาเสาสัญญาณ 5G !!! พร้อมอธิบายเหตุผลชัดเจนว่าเหตุใด เสา 5G จึงไม่ใช่ต้นตอของไวรัส COVID - 19 !!!!




สองสามวันที่ผ่านมา มีรายงานว่าผู้อยู่อาศัยในสหราชอาณาจักรบางคนเริ่มวิตกกับเครือข่าย 5G เนื่องจากความกังวลที่เพิ่มขึ้นว่า 5G เป็นสาเหตุของการระบาดของโรคไวรัส COVID - 19 และเริ่มเผาเสาสัญญาณ 5G โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีเสาสัญญาณสองแห่งในเบอร์มิงแฮมและเมอร์ซีย์ไซด์ถูกจุดไฟเผาโดยผู้อยู่อาศัยย่านนั้น

มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์หรือไม่ว่าเสาสัญญาณ 5G ทำให้เกิด COVID-19



แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับทฤษฎีสมคบคิด แต่เสาสัญญาณ 5G จำนวนมากในสหราชอาณาจักรก็ถูกเผา ทฤษฎีสมคบคิดแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปยังสื่อโซเชียลหลายๆแพลตฟอร์ม

ทฤษฎีสมคบคิดทั้งหมดที่พยายามเชื่อมโยงเทคโนโลยี 5G กับ COVID - 19 นั้นไม่มีข้อพิสูจน์และไม่เกี่ยวข้องกันอย่างสิ้นเชิง



ตามที่ศาสตราจารย์สตีเวน โพวิส ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของ NHS England กล่าวว่าการเชื่อมโยงระหว่าง 5G กับ COVID - 19 นั้น “น่าตกใจ” และ “ไร้สาระอย่างสมบูรณ์” รัฐบาลอังกฤษยังมองว่าเป็น “การกล่าวอ้างที่อันตราย”

เครือข่าย 5G มีการแผ่รังสีที่ไม่ทำให้เกิดไอออนในความถี่ต่ำ



ทฤษฎีสมคบคิดเหล่านี้เชื่อว่า coronavirus ใหม่สามารถแพร่กระจายผ่านเครือข่าย 5G หรือว่าเครือข่าย 5G มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์  การอ้างเหล่านี้ไม่เป็นความจริง 

และหากคุณต้องการเข้าใจว่าทำไม 5G ไม่เชื่อมโยงกับไวรัสคุณต้องเข้าใจว่าทำไม คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีพลังงานไม่เพียงพอที่จะทำลายเซลล์มนุษย์และแพร่กระจายไวรัส  เช่นเดียวกับเครือข่าย 4G และ 3G ก่อนหน้านี้ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ในเครือข่าย 5G มีการแผ่รังสีที่ไม่ทำให้เกิดไอออนในความถี่ต่ำ ซึ่งแตกต่างจากแหล่งกำเนิดรังสี เช่น รังสีเอกซ์, รังสีแกมมา และ รังสีอุลตร้าไวโอเล็ต คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านี้อยู่ที่ปลายด้านตรงข้ามของสเปกตรัม

ดังนั้นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 5G จึงไม่เพียงพอที่จะทำให้เซลล์ของมนุษย์ร้อนและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง 

Simon Clarke รองศาสตราจารย์ภาควิชาจุลชีววิทยาเซลล์ที่ University of Reading กล่าวในการสัมภาษณ์เมื่อเร็วๆนี้กับ BBC ว่า

“ความคิดที่ว่าเครือข่าย 5G จะส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันนั้นไม่มีทางเกิดขึ้นจริง”

Source : GizChina
Article By : โลกไอทีวันนี้ 

Comments