ทีมวิศวกร NASA ใกล้จะแก้ปัญหาของยาน Voyager 1 ได้ !!! หลังคอมพิวเตอร์ FDS บนยานเกิดรวน และไม่สามารถส่งข้อมูลที่อ่านได้กลับมายังโลก !!!!



โดยยาน Voyager 1 คือวัตถุที่เดินทางไกลโลกมากที่สุดในประวัติศาสตร์กว่า 2.4 หมื่นล้านกิโลเมตร ด้วยอายุปัจจุบัน 46 ปี !!! 

เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา คอมพิวเตอร์บนยาน Voyager 1 ที่เรียกว่า Flight Data System (FDS) ได้ส่งข้อมูลที่อ่านค่าอะไรไม่ได้เลยกลับมายังโลก

โดยทาง NASA ยังคงสื่อสารกับคอมพิวเตอร์บนตัวยาน Voyager 1 ได้ แต่ไม่สามารถอ่านค่าเครื่องมือวิทยาศาสตร์บนยาน (Telemetry modulation unit : TMU) รวมไปถึงแปลความหมายของ FDS ได้ เนื่องจาก ตัวเลขที่ส่งกลับมาเป็นเลข 0 กับ 1 ที่เรียงในรูปแบบซ้ำๆ จนเหมือนกับคอมพิวเตอร์ค้าง ซึ่ง ณ ตอนนั้น NASA ได้สั่ง reboot คอมพิวเตอร์หลักแล้วแต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

“จริงๆแล้ว การติดต่อระหว่างยานอวกาศและโลกยังคงเชื่อมต่ออยู่ แต่ 'เสียง' ของยานโวเอเจอร์ ที่ตอบกลับมาถูกแทนที่ด้วยเสียงที่พูดไม่รู้เรื่องซ้ำวนไปเรื่อยๆ” ทีมวิศวกรของยาน Voyager 1 บอกก่อนหน้านี้

แหล่งที่มาของปัญหาดูเหมือนจะเป็นหนึ่งในคอมพิวเตอร์บนยาน Voyager 1 ที่มีทั้งหมดสามเครื่อง ได้แก่ตัวควบคุมระบบข้อมูลการบิน (FDS) ทาง NASA กล่าวว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนี้มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการบรรจุข้อมูลวิทยาศาสตร์และข้อมูลทางวิศวกรรมก่อนที่จะถูกส่งไปยังโลกโดย Telemetry modulation unit

ล่าสุดเริ่มมีสัญญาณเชิงบวกในการแก้ปัญหา โดยเกิดขึ้นในวันที่ 3 มีนาคม ที่ผ่านมา เมื่อทีมภารกิจยาน Voyager ตรวจพบกิจกรรมจากส่วนหนึ่งของ FDS ที่แตกต่างจากส่วนที่เหลือของกระแสข้อมูลที่อ่านไม่ออกของคอมพิวเตอร์

โดยวิศวกรของ Deep Space Network ของ NASA ได้ดูโค้ดดังกล่าวและสามารถถอดรหัสสัญญาณที่ผิดปกติได้ ซึ่งคาดว่า FDS ส่งข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำทั้งหมดกลับมาแบบเข้ารหัส ซึ่งข้อมูลวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่ถูกส่งกลับมายังโลกก็น่าจะถูกฝังอยู่ในข้อมูลหน่วยความจำนั้นเช่นกัน

ตอนนี้ทีมงานจะเปรียบเทียบสัญญาณใหม่นี้ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการแจ้งหรือ "กระตุ้น" จากหน่วยควบคุมภารกิจ กับข้อมูลที่ถูกส่งกลับมายังโลกก่อนที่ยาน Voyager 1 จะเริ่มมีปัญหา

การค้นหาความแตกต่างระหว่างข้อมูลปกติของยาน Voyager 1 และ สัญญาณกระตุ้นนี้จะช่วยให้ค้นหาสาเหตุของปัญหาได้ แนวคิดของการกระตุ้นคือเพื่อให้ FDS ลองใช้ลำดับที่แตกต่างกันในซอฟต์แวร์และพิจารณาว่าปัญหาการสื่อสารสามารถแก้ไขได้โดยการนำทางไปยังส่วนที่เสียหายได้หรือไม่

ปัจจุบัน Voyager 1 และ Voyager 2 สำรวจระบบสุริยะของเรามาเป็นเวลา 46 ปีแล้ว ขณะนี้ยานทั้งสองอยู่ในช่องว่างระหว่างดวงดาว (Interstellar) บริเวณนอกเฮลิโอพอส หรือฟองอากาศของอนุภาคพลังงานและสนามแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์


โดยยาน Voyager 1 อยู่ห่างจากโลก 1.45 หมื่นล้านไมล์ (~2.4 หมื่นล้านกิโลเมตร) และใช้เวลาส่งข้อมูล 22 ชั่วโมง 33 นาทีแสง นั่นหมายความว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 วันในการส่งข้อความติดต่อไปยังยาน และรอรับคำตอบกลับจากยานอีก 1 วัน

ยาน Voyager  2 แฝดของ Voyager 1 (ปัจจุบันอยู่ห่างจากโลก 1.21 หมื่นล้านไมล์ หรือ 1.95 หมื่นล้านกิโลเมตร) ยังคงทำงานได้ตามปกติ

แม้จะมีความท้าทายในการใช้งานยานอวกาศอายุ 46 ปี แต่ทีมวิศวกรก็กำลังทำงานเพื่อให้มันใช้งานได้นานที่สุด

ยานอวกาศทั้งสองใช้งานได้นานกว่าที่ผู้วางแผนภารกิจคาดไว้มาก และเป็นยานอวกาศเพียงกลุ่มเดียวที่รวบรวมข้อมูลในอวกาศตรงพื้นที่ระหว่างดวงดาว ข้อมูลที่ได้จากพื้นที่นี้ช่วยผลักดันให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับเฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งเป็นแนวกั้นแบบกระจายที่ดวงอาทิตย์สร้างขึ้นรอบๆดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเรา

ยานอวกาศแต่ละลำผลิตพลังงานไฟฟ้าได้น้อยกว่า 4 วัตต์ต่อปี ซึ่งเป็นการจำกัดความสามารถที่ยานทำงานได้  ทีมวิศวกรรมภารกิจได้ปิดระบบย่อยและเครื่องทำความร้อนต่างๆ เพื่อสำรองพลังงานสำหรับอุปกรณ์วิทยาศาสตร์และระบบที่สำคัญ ปัจจุบันยังไม่มีการปิดเครื่องมือวิทยาศาสตร์อันเป็นผลมาจากพลังงานที่ลดน้อยลงของยาน และทีม Voyager กำลังทำงานเพื่อให้ยานอวกาศทั้งสองทำงานและส่งข้อมูลได้จนถึงอย่างน้อยที่สุดคือปี 2025

Source : Space.com
Article By : โลกไอทีวันนี้ 

Comments