วิเคราะห์เจาะลึกและพาไปทำความรู้จักกับ Intel Core 10th Gen ซีพียูยุคใหม่พาใจสับสน กันแบบละเอียดครบถ้วน !!!!





แม้ว่าชื่อโพสอาจจะฟังดูเหมือนซีรี่ย์เกาหลีอยู่ไม่น้อย แต่ก็คาดว่าจะเป็นความในใจของผู้ใช้หลายๆคนอยู่เหมือนกัน กับการแยกแยะซีพียู Core 10th Generation Mobile ว่าแท้จริงแล้วตัวไหนเป็นตัวไหนกันแน่ หลังจากที่มีการเปิดตัวกันไป วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักและเข้าใจกันครับ

โดย Intel Core 10th Gen นั้นเป็นซีพียูรุ่นที่ 10 ของ Intel ที่มีการพัฒนาต่อยอดกันมาอย่างยาวนานในสายการผลิต โดยมีการพัฒนาเพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆนอกจากความเร็วเพิ่มขึ้นหลายประการ




โปรเซสเซอร์ Intel® Core 10 Generation รุ่นใหม่ล่าสุดนี้ นำเอาสมรรถนะขั้นสูงของปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาสู่คอมพิวเตอร์ในระดับพกพา นอกจากนั้นยังมีเทคโนโลยีการเชื่อมต่อที่ดีที่สุดด้วย Intel® Wi-Fi 6 (Gig+) และThunderbolt™ 3 พร้อมทั้งประสิทธิภาพของ Intel® Iris® Plus Graphics ที่นำมาซึ่งประสบการณ์ด้านการแสดงภาพกราฟิกที่สวยงามสมจริง และน่าประทับใจเป็นอย่างมาก




กราฟฟิกรุ่นใหม่ Intel Iris Plus graphics เป็นโครงสร้างของชิปกราฟฟิกใน Generation ที่ 11 ซึ่งประสิทธิภาพทางด้านกราฟฟิกเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ตัวการ์ดสามารถเข้ารหัสวิดีโอขั้นสูง HEVC ได้ถึง 2Xสามารถตอบโจทย์ทุกความต้องการในการสร้างคอนเทนท์ระดับมืออาชีพได้ รองรับวิดีโอ 4K ความละเอียดแบบ HDR , เล่นเกมและมีอัตราเฟรมที่เร็วขึ้นกว่า 2x ด้วย 1080P Gaming




อีกทั้งยังมีการนำเอาเทคโนโลยี Thunderbolt™ 3 และ integrated Intel® Wi-Fi 6 (Gig+) มารวมกันเป็นครั้งแรก ซึ่งจะช่วยทำให้การเชื่อมต่ออินเตอร์แบบไร้สายเร็วขึ้นเกือบ 3 เท่า พร้อมกับพอร์ตที่เร็วที่สุด และทำหลายหน้าที่ และการใช้เทคโนโลยี Gig+ ของอินเทลในการเชื่อมต่อ Wi-Fi 6 ช่วยทำให้การเชื่อมต่อแบบไร้สายเร็วมากกว่า 1Gbps ทำให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้น




โดยในปีนี้ สำหรับ Core 10th Gen นั้นได้ปล่อยซีพียูออกมาถึง 2 ตัว โดยมีโค้ดเนมว่า Ice Lake และ Comet Lake ซึ่งเป็นซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กและอุปกรณ์พกพา ที่รู้จักกันในชื่อซีพียูรหัส U Series (โน้ตบุ๊กทั่วไป) และ Y Series (โน้ตบุ๊กกินไฟต่ำ)




Ice Lake นั้นเป็นซีพียูที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นพระเอกของปีนี้ โดยหากแบ่งตามหมวดหมู่แล้วมีคุณสมบัติในหมวดใหม่ที่เด่นชัดอย่าง Intelligent Performance หรือการผนวก AI เข้ามาใช้ พร้อมจีพียู Gen11 รุ่นใหม่อย่าง Intel Iris Plus และผลิตด้วยสถาปัตยกรรมระดับ 10 นาโนเมตร


โดยคุณสมบัติเด่นๆ ได้แก่




- ฟีเจอร์ Deep Learning Boost (DL Boost) และ Machine Learning

- ชุดคำสั่งเร่งการประมวลผล AI, Gaussian & Neural Accelerator (GNA) 

- ชุดเอนจินประมวลผลเสียงและตัดเสียงรบกวน (Noise Cancelling)

- รองรับ Wi-Fi 6 และ Thunderbolt 3 ภายในตัวชิป

มีการแบ่งรุ่นซีพียูออกเป็น 11 รุ่นย่อย 




มีวิธีการอ่านเพื่อแยกรุ่นซีพียูนั้นแบ่งเป็น 4 หมวด ดังนี้ 




ในหมวดที่ 1 และ 2 นั้นเป็นการบอกชื่อแบรนด์และรุ่นของซีพียู (core i3 i5 i7) ส่วนหมวดที่ 3 นั้นเป็นเลขรหัส 4 หลัก โดย 2 หลักแรกเป็นเลข 10 ที่บ่งบอกถึง Gen และ 2 หลักหลังจะเป็น SKU Numeric Digits (เลขยิ่งมาก ยิ่งมีประสิทธิภาพ) ตามด้วยหมวดสุดท้ายคือระดับกราฟฟิค โดยมีจีพียูทั้งหมด 3 ระดับคือ

G7 = Iris Plus มีหน่วยประมวลผล 64 ยูนิต

G4 = Iris Plus โดยมีหน่วยประมวลผล 48 ยูนิต

G1 = Intel UHD โดยมีหน่วยประมวลผล 32 ยูนิต


ส่วน Intel Core i3 i5 i7 ต่างกันอย่างไร ?




ถ้าเอาแบบง่ายๆก็ให้เรียงความแรงตามตัวเลข i3 i5 และ i7 ซึ่งในกรณีที่เป็น Generation เดียวกัน i มากกว่าโดยส่วนมากจะมีความเร็วที่มากกว่า และ CPU Core i3 i5 และ i7 มีจำนวน Core และ Thread ไม่เท่ากัน รวมไปถึงรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ เช่น Cache Memory , Turbo Boost เป็นต้น แต่ให้อนุมานเอาง่ายตามลำดับเลข โดยหากจะแบ่งตามสาขาอาชีพที่เหมาะสมในแต่ละ Core น่าจะเป็นดังนี้

Core i3   เหมาะสำหรับการใช้งานโดยทั่วไป เช่น ดูหนังฟังเพลง , ทำงานเอกสาร , ท่องอินเตอร์เน็ต ดังนั้นจึงน่าจะเหมาะกับกลุ่มนักศึกษาและงานออฟฟิศทั่วไปเป็นหลัก ด้วยราคาที่ไม่แพงมากนัก

Core i5   เหมาะสำหรับกลุ่มที่ต้องการเล่นเกมส์ได้มากยิ่งขึ้น และประมวลผลได้ดีกว่าเดิม ในสายอาชีพนี้เกมเมอร์ก็จัดว่าลงตัว

Core i7   เหมาะเป็นอย่างมากสำหรับงานประมวลผลขั้นสูง เช่น การตัดต่อวิดีโอ งานวิศวะกรรม ออกแบบทำงานสามมิติ การตกแต่งรูป ดังนั้นกลุ่มอาชีพที่ใช้จึงน่าจะเป็น สายวิศวกรรม , สถาปัตยกรรม และ สาย Production Creative เป็นต้น




ส่วนอีกตัวได้แก่ Comet Lake ซึ่งเป็นซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กและอุปกรณ์พกพา ที่รู้จักกันในชื่อซีพียูรหัส U Series (โน้ตบุ๊กทั่วไป) และ Y Series (โน้ตบุ๊กกินไฟต่ำ) เช่นกัน แต่จะมีกระบวนการผลิตระดับ 14 นาโนเมตร (ในขณะที่ Ice Lake ใช้สถาปัตยกรรมแบบใหม่ที่เรียกว่า Sunny Cove ที่นอกจากมีประสิทธิภาพดีกว่า ยังมีผลชัดเจนในเรื่องชุดคำสั่งใหม่ๆสำหรับประมวลผล AI) แต่ทั้ง Comet Lake และ Ice Lake จะรองรับ WiFi 6 เหมือนกัน โดย Comet Lake แบ่งออกเป็น 8 รุ่นย่อย 




มีวิธีการอ่านรหัสดังนี้




ใน Comet lake จะใช้รูปแบบตัวอักษร/ตัวเลขที่อิงกับเจนเนอเรชั่นและกลุ่มผลิตภัณฑ์ตามหลังแบรนด์และส่วนขยาย ตัวเลขสองหลักแรกในลำดับเลขห้าหลักบ่งชี้เจนเนอเรชั่น (10) ของโปรเซสเซอร์ ตัวเลขสามหลักถัดไปคือหมายเลข SKU ตามด้วย U หรือ Y ซึ่งแสดงถึงหมวดหมู่ของอุปกรณ์พกพาที่เหมาะที่สุดกับโปรเซสเซอร์นั้นๆ




ดังนั้นโดยสรุปแล้ว ความแตกต่างนอกจากวิธีการอ่านรหัสของ Ice Lake และ Comet Lake หลักๆมีดังนี้




- กระบวนการผลิตระดับ 10 นาโนเมตร และ 14 นาโนเมตร

- สถาปัตยกรรมแบบ Sunny Cove และแบบเดียวกับ Skylake

- GPU Gen ใหม่ Iris Plus และ Intel UHD

นอกนั้นจะเป็นรายละเอียดเชิงเทคนิคดังตารางด้านล่างนี้




และหากเปรียบเทียบกับแบรนด์นอกค่ายหล่ะ ประสิทธิภาพของ Intel Core 10th Gen นั้นจะเป็นเช่นไร




ในงาน Computex 2019 เมื่อเดือนพฤษภาคมทาง Intel ได้เปิดเผยข้อมูลการทดสอบประสิทธิภาพตามแอพพลิเคชั่น 'Real World' โดย Intel กล่าวว่าได้ใช้แอพพลิเคชั่นที่พบในการใช้งานประจำวันที่พบบ่อยที่สุดสำหรับการทดสอบเหล่านี้




หนึ่งในเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ใน Sysmark ซึ่งรวมถึงรายการแอปพลิเคชันที่ใช้บ่อยที่สุดหรืออย่างที่ Intel เรียกว่าแอพ Real-World โดยได้เปรียบเทียบบนโปรเซสเซอร์ 9 Gen Core i9 และ Core i7 กับ Ryzen 9 3900X ที่เร็วที่สุดของ AMD ซึ่ง Intel Core i9-9900K มี 8 คอร์และ 16 เธรดในขณะที่ Ryzen 9 3900X มี 12 คอร์และ 24 เธรด

ใน Sysmark 2018 (ทดสอบประสิทธิภาพเดสก์ท็อปของ Windows) Core i9-9900K นั้นเร็วขึ้น 7% ในขณะที่ Core i7-9700K นั้นเร็วกว่า Ryzen 9 3900X ของ AMD ถึง 3% ในการทดสอบเกมพีซีระดับ AAA ด้าน Core i9 นั้นมี 6% ในขณะที่ Core i7 นั้นเหนือกว่า 12 คอร์ของ AMD ถึง 2%




ในการคำนวณประสิทธิภาพการทำงานของเบนช์มาร์กอย่างเข้มข้น (SPECrate2017_int_base 1T) ให้ประสิทธิภาพแบบ Single-Core ที่ดีขึ้น 9% สำหรับ Core i9 และประสิทธิภาพที่ดีขึ้น 6% สำหรับโปรเซสเซอร์ Core i7 ในประสิทธิภาพของเว็บ (WebXPRT 3 - Edge) Core i9 นั้นเร็วกว่า 3% ในขณะที่ Core i7 อยู่ในระดับเดียวกับโปรเซสเซอร์ Ryzen 9 3900X




Intel ยังใช้เกณฑ์จำลองสถานการณ์ในการใช้งานจริงเพื่อแสดงประสิทธิภาพ IMC (ตัวควบคุมหน่วยความจำ) ในการทดสอบนี้ Core i7-9700K เสร็จสิ้นการจำลองใน 15 นาทีในขณะที่ AMD Ryzen 9 3900X ใช้เวลา 17 นาทีจึงจะเสร็จสมบูรณ์




ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว Intel นั้นทำประสิทธิภาพได้เหนือคู่แข่งมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยหากย้อนไปเปรียบเทียบกันตั้งแต่ Core 8th Gen เมื่อเทียบกับ AMD Ryzen R7 3700U ก็จะเห็นได้ว่ามีประสิทธิภาพโดยรวมและอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ดีกว่าถึง 65%

และนั่นคือจุดประสงค์ที่ Intel ต้องการมอบให้กับผู้ใช้งานทุกคนในทุกกลุ่ม ด้วยการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงในรุ่นที่ 10 ซึ่งมีการผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยี AI ที่คู่แข่งยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้ และยังมอบประสบการณ์ในการใช้งานชั้นเยี่ยม ด้วยชิปกราฟฟิครุ่นใหม่อย่าง Iris Plus ที่จะทำให้การทำงานหรือแม้กระทั่งการใช้เพื่อความบันเทิงจะเพลิดเพลินได้อย่างไม่มีสะดุด ในท้ายที่สุดยังมีระบบจัดการพลังงานที่ดีอย่างชัดเจน จึงทำให้ Intel นั้นยังคงเป็นตัวเลือกแรกเสมอสำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน




สินค้ามีวางจำหน่ายที่ BaNANA ทั่วประเทศ และสามารถเข้าไปดูออนไลน์ได้ที่


Article By : โลกไอทีวันนี้

Comments