NASA เผยแพร่ภาพถ่าย "รุ้งกินน้ำ" บนดาวอังคาร ที่น่าตื่นตาตื่นใจ โดยสาเหตุของการเกิด "รุ้ง" บนดาวอังคาร เป็นเรื่องที่กำลังถกเถียงกันทางโลกออนไลน์ !!!!



ยานสำรวจ Mars Perseverance ของ NASA ได้รับภาพจากกล้อง onboard Rear Left Hazard Avoidance Camera มาเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2021 (sol 43) ตามเวลาสุริยจักรวาลเฉลี่ย 15:14:09 น. (NASA / JPL-Caltech)

ซึ่ง Perseverance ของ NASA ถ่ายภาพสิ่งที่ดูเหมือนรุ้งบนดาวอังคาร ทำให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญกำลังถกเถียงกันถึงที่มาของสายรุ้งดังกล่าว

การศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับชั้นบรรยากาศของดาวอังคารกล่าวว่ารุ้งไม่ควรก่อตัวบนดาวที่แห้งแล้ง

ภาพล่าสุดที่ถ่ายโดย Perseverance rover ของ NASA ปรากฏให้เห็นรุ้งกินน้ำอันน่าทึ่งบนดาวอังคาร  ภาพถ่ายดังกล่าวทำให้เกิดการคาดเดาจำนวนมากทางโลกออนไลน์ เนื่องจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าไม่ควรมีรุ้งบนดาวอังคาร

บนโลกรุ้งจะปรากฏขึ้นเมื่อแสงแดดตรงกับสภาพบรรยากาศที่เหมาะสม ซึ่งแสงจะตกกระทบและสะท้อนออกจากหยดน้ำแต่ละหยดในชั้นบรรยากาศ

อย่างไรก็ตามเนื่องจากบรรยากาศที่เย็นบางและแห้งของดาวอังคาร โอกาสที่จะเกิดรุ้งกินน้ำจริง จึงไม่น่าเป็นไปได้

นักวิเคราะห์หลายคนได้คาดเดาว่ามันอาจจะเป็น "Dustbow" โดยแสงสะท้อนนั้นเกิดจากฝุ่นมากกว่าหยดน้ำ




อย่างไรก็ตามทฤษฎีที่ได้รับการสนับสนุนมากที่สุดดูเหมือนว่า "รุ้ง" นี้จะเกิดจากสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้รังสีของแสงเข้ามาแบบสุ่มและกระจายแบบสุ่มภายในเลนส์ คล้ายกับปรากฎการณ์ "เลนส์แฟลร์ (Lens Flare)" ในกล้องทั่วไป

สิ่งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก Dave Lavery ผู้บริหารโครงการสำรวจระบบสุริยะของ NASA ซึ่งบอกกับ Forbes ว่า “มันไม่ใช่สายรุ้งแน่นอน…มันเป็นเพียงภาพสะท้อนภายในเลนส์กล้องเท่านั้น”

"เนื่องด้วยตำแหน่งยานโรเวอร์อยู่ทางเหนือของเฮลิคอปเตอร์เกือบครบกำหนด ดังนั้นกล้องจึงมองตรงไปทางทิศใต้ ในเวลาประมาณ 14.00 น. (เวลาสุริยะของดาวอังคาร) เมื่อถ่ายภาพเหล่านี้" เขากล่าวและเสริมว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับแสงที่รบกวนการมองเห็นของกล้อง

แต่กระนั้นไม่ว่ารุ้งนี้จะมาจากสาเหตุใด อย่างน้อยมันก็สวยและมีคุณค่าทางวิทยาศาสตร์อย่างแน่นอน

Source : The Hill
Article By : โลกไอทีวันนี้

Comments