เพราะ HyperOS จะเป็นระบบปฎิบัติการผสม ที่เกิดจากการนำ Android มารวมเข้ากับ Xiaomi Vela ที่ทางบริษัทพัฒนาขึ้นเอง แตกต่างจาก MIUI ที่เป็น Android แท้ๆ 100% แล้วมีการเขียน UI/UX ของตัวเองครอบทับลงไป
โดย Xiaomi Vela ใช้แพลตฟอร์ม NuttX ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการโอเพ่นซอร์สแบบเรียลไทม์ มาเป็นพื้นฐาน
🔴 ประวัติคร่าวๆของระบบ NuttX (real-time OS)
- เปิดตัวอย่างเป็นทางการโดย Mr. Gregory Nutt ในปี 2007
- ปี 2017 ทาง Samsung ได้นำไปเป็นเคอร์เนลของระบบปฏิบัติการ TizenRT
- ปี 2019 ได้เข้าสู่ Apache Foundation อย่างเป็นทางการ ภายใต้การส่งเสริมของ Xiaomi
NuttX มีฟังก์ชันที่หลากหลาย ประสิทธิภาพที่มั่นคง และความพร้อมทางการค้าสูง
ผลิตภัณฑ์สายรัดข้อมือสองเจเนอเรชันล่าสุดของ Fitbit และผลิตภัณฑ์เพื่อผู้บริโภคจำนวนมากของ Sony ล้วนได้รับการพัฒนาโดยใช้ NuttX ทั้งสิ้น
🔴 ทำไมต้อง Vela :
1) ต้นทุนต่ำ กินทรัพยากรต่ำ เมื่อเทียบกับ Linux
2) การประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย*
3) นำโค้ดกลับมาใช้ใหม่ได้
4) การสนับสนุนสำหรับ POSIX API
5) การออกแบบโมดูลาร์ผ่าน Kconfig
*ข้อ 2 สำคัญมาก พูดง่ายๆคือ เขียนระบบปฎิบัติการเพียงอันเดียวครั้งเดียว แล้วสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ทุกิย่างได้ ไม่ว่าจะเป็น Smartphone , Tablet , Smart TV , อุปกรณ์ AIoT , รถยนตร์ EV ทั้งหมดนี้จะถูกรวมเข้าและเชื่อมต่อทำงานร่วมกันได้แบบ Seamless (ไร้รอยต่อ) ที่เรียกว่า 1 OS For All Platform
🔴 สถาปัตยกรรมระบบ NuttX
1) API ที่เข้ากันได้กับ Linux
2) อินเทอร์เฟซ C/C++ มาตรฐาน กำหนดโดย POSIX และ ANSI
3) รองรับสถาปัตยกรรม CPU ทั่วไปทั้งหมด, Cortex-A/Cortex-R/Cortex-M, AVR, MIPS, RISC-V 32 บิต/64 บิต, X86/X64, Z80 รวมถึง Tensilica และ CEVA DSP
4) ระบบย่อยที่จำเป็นสำหรับ OS
4.1) Task scheduling
4.2) Cross-process communication
4.3) File systems
4.4) Application framework
4.5) Developer tools (เครื่องมือสำหรับนักพัฒนา)
🔴 เฟรมเวิร์คของระบบปฎิบัติการ HyperOS
ประกอบด้วย
- 8 ระบบย่อยใหม่
- เคอร์เนลใหม่ทั้งหมด (Xiaomi Vela + Linux)
- การทำงานร่วมกันกับเลเยอร์ Android (เป็นการพัฒนาที่น่าสนใจมากๆ)
ในเลเยอร์ต่ำสุด Xiaomi ได้รวมเคอร์เนลระบบ Vela ที่พัฒนาขึ้นเองเข้ากับเคอร์เนลระบบ Linux ที่ได้รับการดัดแปลงอย่างล้ำลึก และสร้างโมดูลพื้นฐานขึ้นใหม่ เช่น การกำหนดเวลาประสิทธิภาพ การจัดการงาน การจัดการหน่วยความจำ และ การบริหารจัดการไฟล์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
การปรับปรุงที่สำคัญ ได้แก่ ฟิวชันคอร์ใหม่ ซึ่งรองรับแพลตฟอร์มโปรเซสเซอร์มากกว่า 200 แพลตฟอร์ม และระบบไฟล์มากกว่า 20 ระบบ และสามารถกำหนดค่าได้อย่างยืดหยุ่นตามความแตกต่างในความสามารถของฮาร์ดแวร์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์แต่ละตัวรุ่นได้อย่างอิสระมากขึ้น
ในชั้นที่ 2 เรียกว่า System และ Framework Layer ซึ่ง Xiaomi ได้รวม Services Framework ของ Android และของระบบ Vela ที่พัฒนาตนเอง แล้วพัฒาเป็น "มิดเดิลแวร์" ใหม่ขึ้นมา
โดย Xiaomi ได้สร้างระบบย่อยใหม่ 8 ระบบ รวมถึงระบบ AI แบบใหม่ ที่ได้รวมความสามารถของโมเดลขนาดใหญ่และกลายเป็น "สมองอัจฉริยะ" ของทั้งระบบ ซึ่งทำให้อุปกรณ์สามารถบรรลุความสามารถด้าน AI ได้เต็มรูปแบบมากขึ้น
ในเลเยอร์บนสุด HyperConnect ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อทำให้อุปกรณ์ทั้งหมดสามารถรวมโปรโตคอลการเชื่อมต่อและสื่อสารแบบเรียลไทม์ไว้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ นอกจากนี้ยังมีระบบรักษาความปลอดภัยระดับสูงเต็มรูปแบบ
ที่ทำงานผ่าน Kernel layer, service framework และ cross-end layer ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยจึงถูกนำมาใช้จากชั้นล่างสุดของการออกแบบสถาปัตยกรรมทั้งหมดของระบบ
ส่วนที่เหลือรอดูวันเปิดตัว Xiaomi 14 Series ในประเทศจีน 26 ตุลาคม นี้ครับ
Article By : โลกไอทีวันนี้
Comments
Post a Comment