เมื่อยาน Chandrayaan-2 ของอินเดีย ถ่ายภาพยานลงจอดดวงจันทร์และอุปกรณ์ในภารกิจ Apollo 11 และ Apollo 12 เมื่อปี 1969 ไว้ได้ !!!


ยานอวกาศ Chandrayaan-2 ขององค์กรวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย (ISRO) ที่เริ่มโคจรรอบดวงจันทร์ในปี 2019 ได้ทำหน้าที่เป็นไกด์สำหรับภารกิจบนดวงจันทร์หลายครั้งตั้งแต่นั้นมา อีกทั้งยังได้ถ่ายภาพพื้นผิวภูมิประเทศของดวงจันทร์เพื่อสังเกตุลักษณะต่างๆหลายประการ และหนึ่งในนั้นที่ Chandrayaan-2 ถ่ายภาพมาได้คือ ยานลงจอดที่นำนีล อาร์มสตรอง และ บัซ อัลดริน นักบินอวกาศของนาซาไปยังดวงจันทร์เมื่อปี 1969

โดยภาพถ่ายนี้ถูกถ่ายมาตั้งแต่ปี 2021 แต่เมื่อไม่นานนี้ นักดาราศาสตร์สมัครเล่น Marty McGuire ได้ใช้กล้อง Orbiter High-Resolution Camera (OHRC) ประมวลผลภาพที่ยานอวกาศถ่ายได้ ซึ่งเผยให้เห็นจุดลงจอดของ Apollo 11 และ Apollo 12 จากระดับความสูง 100 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวดวงจันทร์

OHRC ใช้ในการจับภาพภูมิประเทศบนดวงจันทร์เพื่อค้นหาจุดลงจอดบนดวงจันทร์สำหรับภารกิจต่างๆ โดยรูปภาพเหล่านี้ใช้สำหรับการสร้างแบบจำลอง 3 มิติของจุดลงจอด  ในขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์สามารถใช้รูปภาพเหล่านี้เพื่อการวิจัยในภายหลังได้

OHRC เป็นระบบกล้องที่มีเซนเซอร์พิเศษ จะถ่ายภาพจุดเดียวกันจากสถานที่ที่แตกต่างกันสองแห่งในอวกาศ  ทำให้สามารถดูรายละเอียดพื้นที่ 12 กม.× 3 กม. ได้อย่างละเอียด

ทั้งนี้ภารกิจ Apollo 11 ได้ลงจอดทางตอนใต้ของทะเลแห่งความเงียบสงบ ซึ่งเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ (พื้นที่มืดและเรียบ) บนพื้นผิวดวงจันทร์ในปี 1969 ขณะเดียวกัน ภารกิจ Apollo 12 ได้ลงจอดในภูมิภาคที่เรียกว่ามหาสมุทรของพายุ (Oceanus Procellarum) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้จุดลงจอดของยานอวกาศไร้คนขับ Surveyor 3 ซึ่งลงจอดบนดวงจันทร์ในปี 1967

ISRO ใช้ยานอวกาศ Chandrayaan-2 เพื่อค้นหาจุดลงจอดของ Vikram ภารกิจ Chandrayaan-3 ที่ลงจอดในบริเวณขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์  นอกจากนี้ยังช่วยภารกิจ Slim ของญี่ปุ่น ซึ่งกลายเป็นยานอวกาศญี่ปุ่นลำแรกที่ลงจอดบนดวงจันทร์ในปี 2024

ภารกิจ Chandrayaan-2 ถูกส่งขึ้นสู่ดวงจันทร์โดย ISRO และประกอบด้วยยานลงจอดและรถแลนด์โรเวอร์ โดยยานไปถึงวงโคจรดวงจันทร์เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2019 ในขณะที่ยานออร์บิเตอร์ยังคงใช้งานโคจรอยู่ได้ แต่ยานลงจอด Vikram ที่พยายามลงจอดบนดวงจันทร์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2019 เกิดขัดข้องเนื่องจากข้อผิดพลาดของซอฟต์แวร์ และพุ่งชนพื้นผิวในที่สุด

Source : India Today
Article By : โลกไอทีวันนี้

Comments